วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานชิ้นที่ 2

                                           รายงานชิ้นที่ 2                          

 
ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน


1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ   คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ         กฎหมายต้องมีลักษณะ  ๕ ประการดังนี้


     1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
                    
                2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 
              
                3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
                 
                4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
                   
                5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
                    
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรัยบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ 

       2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  

       3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฎิบัติตามกฎหมาย   

       4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์   

       5. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ      โดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 อย่าง
               1.กฎหมายภายใน
               2.กฎหมายภายนอก
1.กฎหมายภายใน
แบ่งตามเนื้อหา แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายลายลักษณ์อักษร
-กฎหมายไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษร
แบ่งตามสภาพบังคับ แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายอาญา
-กฎหมายแพ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก
-กฎหมายสารบัญญัติ
-กฎหมายวิธีสบัญญัติ
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์/ปปช. ได้ 2ประเภท คือ
-กฎหมายมหาชน
-กฎหมายเอกชน
2.กฎหมายภายนอก
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์ เช่น
1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ   ซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ     ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ: Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาลและศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร
"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่าง มาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริง ที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีใน อดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี 4ระบบ ได้แก่
         1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
         2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
         3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
        4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ   จะต้องมี 5ประการ ดังนี้
          1.ต้องมีประชาชนรวมกันอยู่เป็ฯกลุ่มก้อนเรียกว่า พลเมือง
          2.ต้องมีดินแดนเป็นของตนเอง ซึ่งมีอาณาเขตแน่นอน
          3.ต้องมีการปกครองเป็ฯระเบียบแบบแผน
         4.ต้องมีเอกราชไม่ขึ้นแกรัฐอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โอบามา ชนะเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2012


มิตต์ รอมนีย์ VS บารัค โอบามา
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012 โอบาม่า – รอมนีย์
อัพเดตผลการเลือกตั้ง
13.41 น. โอบามา ขึ้นเวทีแถลงชัยชนะ
13.17 น.
Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 303 รอมนีย์ 203 คะแนน
13.00 น.
นายมิตต์ รอมนีย์ แถลงยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ หลังพ่ายแพ้ต่อ นายบารัก โอบามา ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
11.51 น.
Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 290 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.40 น.
บารัค โอบามา ทวีตขอบคุณหลังทราบว่าได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว 275 เสียง เกินจากที่ต้องได้อย่างน้อย 270 เสียงเพื่อชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าผลการนับคะแนนในหลายรัฐยังไม่ออกมาก็ตาม
11.38 น.
CNN และ Fox News ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.16 น.
NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.15 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.00 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 244 รอมนีย์ 193 คะแนน
ชาวอเมริกัน ทยอยใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า ชาวอเมริกันออกต่างทยอยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างคึกคัก ซึ่งโพลล์หลายสำนักต่างก็เผยผลการสำรวจว่า บารัค โอบามามีคะแนนนำ นายมิตต์ รอมนีย์อยู่เล็กน้อย
โดยโพลล์สำรวจความนิยมล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาในวันเลือกตั้ง พบว่า โพลส่วนใหญ่ ทั้ง พิว รีเสิร์ช , แกลลัพ โพล , เอบีซี นิวส์ , วอชิงตัน โพสต์  รวมถึง โพลล์ของซีเอ็นเอ็น พบว่า โอบามา ยังคงมีคะแนนนำรอมนีย์ อยู่ที่ร้อยละ 49 ต่อ 48%   ส่วน เอ็กซิท โพลล์ ปรับตัวเลขล่าสุด ต่างรายงานว่า โอบามา นำ รอมนีย์ อยู่เล็กน้อยที่ 50 ต่อ 47 แต่ อย่างไรก็ตาม ต้องรอลุ้นผลการเลือกตั้งหลังลงคะแนนเสร็จสิ้น  ขณะที่สองผู้ชิงชัยตำแหน่งผู้นำสหรัฐก็เตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนนกันแล้ว
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้เดินทางกลับไปยัง ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพื่อเตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนน หลังจากที่เขาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าไป ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน ได้ควงคู่ แอนน์ ภรรยา ออกมาใช้สิทธิ์ที่หน่วยเลือกตั้งในมลรัฐแมสซาซูเซตส์แล้วในวันอังคาร ที่หน่วยเลือกตั้งบีช สตรีท  เมืองเบลมอนท์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์
การนับคะแนน ตลอดจนการติดตามทำนายผลของเครือข่ายโทรทัศน์ทรงอิทธิพลต่างๆ จะกระทำทันทีภายหลังการปิดหีบลงคะแนนในแต่ละมลรัฐ และคาดกันว่าชาวอเมริกันจะออกมาใช้สิทธิประมาณ 120 ล้านคน
MThai News

ประมวลภาพการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012



Barack Obama








Willard Mitt Romney













ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2

โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2
โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2

นับคะแนนระทึกศึกปธน.สหรัฐ โอบามาVSรอมนีย์
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. บีบีซีรายงานบรรยากาศการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่า ในช่วงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้ามืดของประเทศไทย คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งตามมลรัฐต่างๆ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนับคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่นับจากคณะผู้เลือกตั้ง เรียกว่า อิเลกทอรัล คอลเลจ (electoral college) ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ดังนั้นผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่กำคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนี้ถึง 270 เสียง จะถือเป็นผู้ชนะ
 เวลา 11.16 น. ตามเวลาไทย  NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
เวลา 11.15 น. ตามเวลาไทย ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน 
เวลา 11.00 น. ตามเวลาไทย โอบามามีคะแนนนำรอมนีย์ห่างออกไปที่ 244 ต่อ 178 เสียง ซึ่งหากได้คะแนนที่รัฐฟลอริดา จะเหมือนหลักประกันเข้าสู่เส้นชัย
เวลา 10.35 น. ตามเวลาไท โอบามายังนำด้วยคะแนน 172 ต่อ 163 เสียง ผู้สนับสนุนรอมนีย์เริ่มเครียด หลังโอบามาได้รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และวิสคอนซิน ส่วนที่ฟลอริดา คะแนนสูสีมาก หลังนับไป 90% โอบามามี 49.9 รอมนีย์ ได้ 49.3
เวลา 10.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาแซงไปนำด้วยคะแนน 157 ต่อ 153 เสียง
เวลา 09.00 น. รอมนีย์แซงโอบามา ด้วยคะแนน 153 ต่อ 123 เสียง โดยทั้งสองฝ่ายต่างคว้าคะแนนในฐานที่มั่นของพรรคในสนามเลือกตั้งตามที่คาด การณ์ไว้ และต้องรอลุ้นคะแนนในรัฐที่คะแนนสูสี พร้อมจะพลิกได้ทุกเมื่อ
ต่อมาเวลา 08.30 น. ตามเวลาไทย รอมนีย์มีคะแนนไล่ตามมาติดๆ โอบามานำอยู่เพียง 77 ต่อ 76 เสียง
เข้าสู่ชั่วโมงต่อมา หรือ 08.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาไล่แซงไปอยู่ที่ 57 ต่อ 40 เสียง
ช่วงชั่วโมงแรก หรือตรง กับ 07.00 น. ตามเวลาไทย มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน คว้าคะแนนนำก่อน 33 เสียง รวมถึงคะแนนที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้ 3 เสียง
ด้านซีเอ็นเอ็นรายงานผลเอ็กซิตโพล ในรัฐนอร์ท แคโรไลนา รอมนีย์และโอบามาต่างมีคะแนนเท่าๆ กันที่ร้อยละ 49 ส่วนเอ็กซิตโพลที่รัฐโอไฮโอ รัฐที่มักเป็นคะแนนหลักในการตัดสินผู้ชนะ โอบามานำรอมนีย์ร้อยละ 51 ต่อ 48
ที่มา มติชนออนไลน์

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน

อาเซียน
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย 
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุ ประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น  หมายถึง  ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง             หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง                 หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว                 หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน             หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อา เซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้าง องค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็น องค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

"One  Vision, One Identity, One Community" 
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม